
...พูดถึงกลุ่ม “เสขิยธรรม” ชื่อก็ตรงอยู่แล้ว เสขิยธรรม นั้นตัวศัพท์เอง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เรียกกันว่า เสขิยวัตร นั่นแหละ ในพระไตรปิฎก ท่านเรียก เสขิวัตรว่า “เสขิยา ธมฺมา” อย่างในบทสวด ปาติโมกข์ สรุปว่า “...เสขิยา ธมฺมา นิฏฺ€ิตา...”
เสขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่พึงศึกษาหรือต้องศึกษา แม้ว่าจะหมายถึง เสขิยวัตร แต่ตัวศัพท์เองมีความหมายกว้าง คือแปลว่าสิ่งที่จะต้องศึกษา ซึ่งหมายถึงอะไรก็ตาม ที่จะต้องเรียนรู้ฝึกหัดเพื่อพัฒนาทำชีวิตให้ดีงามขึ้น รวมเข้าใน “ไตรสิกขา” ทั้งสามด้าน ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา...

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
“เสมือนบทนำ” เสขิยธรรม ฉบับที่ ๔๒ ปีที่ ๙ กันยายน – ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๓
|