เสขิยธรรม ฉบับที่ ๖๒
ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๔๗
กองบรรณาธิการ สัมภาษณ์ / ถ่ายภาพ
ภาพประกอบ
ธีระพล เต็มอุดม และ วรพงษ์ เวชมาลีนนท์
สัมภาษณ์ ที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
ทำไมจึงตัดสินใจเข้ามาทำงานในโครงการนี้
ธีรพล: คิดว่าเป็นโครงการที่มีอะไรใหม่ที่ควรจะริเริ่ม และน่าจะได้เริ่มอย่างจริงจังนะครับ ก็รู้สึกว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่จะได้เข้ามาร่วมในตอนนี้
มีปัญหา อุปสรรค อย่างไรบ้าง
ธีรพล: ปัญหาอุปสรรคอันแรกคือ การทำให้เรื่องที่เราทำเป็นเรื่องที่ชัดเจนสำหรับคนอื่น และทำให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ไปในทิศทางเดียวกันว่า เรากำลังทำอะไร เกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่เราทำ เพราะว่าโดยทั่วไปถ้าพูดถึงแค่เรื่องสุขภาวะจิตวิญญาณ จากคำพูดว่าสุขภาวะจิตวิญญาณก็อาจทำให้คนไม่เข้าใจ หรือคิดถึงมันไปในทางที่แตกต่างกันไป เราจะต้องทำให้เป็นรูปธรรมและก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่าย
มุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับผลของแผนงาน หรือโครงการฯ ที่จะเกิดขึ้นกับคนไทยและสังคมไทย
ธีรพล: ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมด้วยได้ง่าย และค่อนข้างเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกว้างในประเด็นอื่นๆ อย่างเรื่องเหล้า หรือบุหรี่อะไรอย่างนี้ ก็จะเข้าถึงเฉพาะกลุ่ม อย่างกลุ่มที่คิดว่าไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมาย คิดว่ามีสุขภาวะเรื่องนั้นดีอยู่แล้ว ก็มีส่วนให้กำลังใจแต่ว่าเรื่องจิตวิญญาณเหมือนกับว่าทุกคนนี้สามารถหาความสุขได้ด้วยตัวเอง ในแต่ระดับที่แตกต่าง ในขณะที่ผลที่เกิดขึ้นกับตัวเองมีผลกับคนรอบข้างไปด้วย ในขณะเวลาเดียวกัน ถ้าในระดับประเทศก็หวังว่าจะเกิดผลได้ ในภาพรวมมันก็จะทำให้สังคมเราดีขึ้น เพียงแต่ว่ามันอาจจะเป็นระยะเวลาที่นานอีกสักนิด
โครงการจิตวิวัฒน์ เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาจิตอย่างไร
วรพงษ์: โครงการจิตวิวัฒน์นี้ได้รับทุนจาก สสส. ภายใต้แผนสุขภาวะทางจิตวิญญาณ และโดยโครงสร้างของจิตวิวัฒน์ เป็นเรื่องของกระบวนการแสวงหาองค์ความรู้ โดยมีกลุ่มของนักคิดที่สนใจคิดเกี่ยวกับองค์ความรู้และกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมด แต่ว่าในทางการจัดการตอนนี้ซึ่งยังไม่ชัดเจนเท่าไรนัก แต่มีแนวโน้มว่าถ้าแยกออกมาเป็นโครงการ เป็นกลุ่ม ที่นอกเหนือจากโครงการพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มันจะมีความสะดวกและคล่องตัวมากกว่า เพราะว่าโครงการเป็นโครงการเล็กๆ ซึ่งมีกิจกรรมที่ค่อนข้างชัดเจน เช่น มีการจัดประชุมเดือนละครั้ง มีการแปลหนังสือ เขียนหนังสือ และมีการตีพิมพ์เป็นบทความ ซึ่งในกระบวนการไม่ค่อยซับซ้อนเท่าไร ไม่เหมือนกับกลุ่มโครงการอื่นที่ต้องร่วมพัฒนาโครงการ มีแนวโน้มความเป็นไปได้ แต่ยังไม่ได้ตกลงพูดคุยกันชัดเจน
กำหนดระยะเวลาไว้อย่างไร
วรพงษ์: ที่ขอมาเเล้ว มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ สิ้นสุดเดือน มกราคม ปี ๔๘
มีแค่การคุยกัน เขียนบทความ โดยไม่ต้องการมีการประมวลผล หรือการผลักดันทางสังคม
วรพงษ์: ก็คิดไว้ว่าตรงนี้น่าจะเป็นหน่วยประเภท ประมวลสังเคราะห์ และก็หวังว่าองค์ความรู้ที่ได้จากตรงนี้ จะมีกลุ่ม มีทีมงานอีกทีหนึ่งจะไปแปลกิจกรรมเป็นขั้นๆ ดังนั้นเกี่ยวกับการสังเคราะห์ การเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบของเอกสาร หรือว่าในรูปแบบการสร้างกลุ่ม เขาใช้คำว่า โนด กลุ่มคนเล็กๆ ที่มาสนใจเรื่องนี้ น่าจะมีการจัดอบรมปัจจัยเรื่องจิตวิวัฒน์
มีผู้เข้าร่วมกี่คน
วรพงษ์:มี ๑๔ คน มาจากหลายสาขาวิชาการ
มีกระบวนการอย่างไร
วรพงษ์:ก็แต่ละครั้งเวลามาพูดคุยกัน แต่ละคนก็จะได้เก็บเกี่ยวและเห็นภาพรวมและทิศทางของกลุ่ม ว่ามันมีแนวทางความคิดไปทางไหน ใช่ไหมครับ เพราะเวลาเขียน แต่ละคนเขียนมาจากสิ่งที่ตัวเองได้สัมผัส ได้ทำงาน แต่ให้มันเชื่อมโยงกับจิตวิวัฒน์ คนที่ทำงานเรื่องการศึกษาก็เห็นตัวอย่างรูปธรรมแวดวงในการศึกษาเยอะ ก็ให้ยกมาจากตรงนั้น ก็จะมีความหลากหลายต่างกันไปตามบทความที่ผ่านมา
คุณมีหน้าที่อะไรในโครงการจิตวิวัฒน์
วรพงษ์:ผมเป็นผู้ช่วยผู้ประสานงาน
ใครเป็นผู้ประสานงาน
วรพงษ์:คุณสรยุทธ
แล้วหนุ่ม (ธีระพล) มีตำแหน่งอะไรในโครงการ
วรพงษ์:เขาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการในแผนงานพัฒนาจิต มันจะแยกตอนแรก โครงการจิตวิวัฒน์มันจะเริ่มมาก่อน โครงการพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพจะเป็นโครงการเล็กๆ พอมีการปรับเปลี่ยนบริหารจัดการให้แผนงานมีจิตวิญญาณ ต้องสร้างทีมขึ้นมาใหม่ จริงๆ แล้วผมต้องเข้าไปช่วยกับเขาด้วย เพราะว่างานมันเชื่อมโยง แต่ว่างานที่ตัวเองทำเป็นงานเกี่ยวกับฐานข้อมูล องค์ความรู้แล้วรวบรวมมาประมวลทั้งที่มาจากทั่วโลก จากหนังสือ จากการประชุม อนาคตก็หวังว่ามันจะมาจากกลุ่มงาน ข่ายงานต่างๆ ของแผนพัฒนาจิตนั้นแหละ มันจะส่งทอด ผ่านเข้ามาในนี้เพื่อว่าบางทีเขาจะช่วยสังเคราะห์แล้วนำเสนอออกมา
บทนำ
อ่านบทสัมภาษณ์
|