เสขิยธรรม -
ความเคลื่อนไหว
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์
พุทธทาสกับธรรมโฆษณ์ ธรรมโฆษณ์ศึกษา
เพื่อสุขภาพทางจิตวิญญาณ

 

          การที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้ก่อตั้งสวนโมกขพลารามขึ้น เป็นอารามอันเป็นกำลังแห่งความหลุดพ้น นับเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาไทย หรือของโลกก็ว่าได้ ที่มีการหวนกลับไปหารากเหง้าของศาสนาซึ่งพระบรมศาสดาก่อตั้งไว้ ถือเป็นการโยงคันถธุระกับวิปัสสนาธุระเข้ามาหากัน อย่างไม่ยึดติดกับรูปแบบพิธีกรรม เมื่อท่านละสังขารไป จึงเปรียบดังดวงประทีปแห่งเถรวาทได้ดับลงอีกดวงหนึ่ง

ธรรมโฆษณ์ศึกษา
เพื่อสุขภาพทางจิตวิญญาณ
- ประสบการณ์ จากโครงการธรรมโฆษณ์ การศึกษาเพื่อสุขภาพทางจิตวิญาณ
   
  กิจกรรม ปีที่ ๒ ครึ่งแรก (ม.ค.-มิ.ย. ๔๘)
- ครั้งที่ ๑๒ หัวข้อ "ปฏิปทาปริทรรศน์"
๑๑–๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๘
พระมหาบุญช่วย สิรินฺธโร
- ครั้งที่ ๑๑ หัวข้อ "สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู"
๑๔–๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
พระสุชาติ ปัญญาทีโป
- ครั้งที่ ๑๐ หัวข้อ "ศีลธรรมกับมนุษยโลก"
๙–๑๐ เมษายน ๒๕๔๘
ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
- ครั้งที่ ๙ หัวข้อ "ฆราวาสธรรม"
๑๒ – ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๘
พระดุษฎี เมธงฺกุโร
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
สรุปฆราวาสธรรม
- ครั้งที่ ๘ หัวข้อ "ไกวัลยธรรม"
๑๒ – ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
รศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
สรุปไกวัลยธรรม
- ครั้งที่ ๗ หัวข้อ "ธรรมะเล่มน้อย"
๘ – ๙ มกราคม ๒๕๔๘
โดย พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
สรุปธรรมะเล่มน้อย | บทคัดย่อธรรมะเล่มน้อย (98 KB)
   
  กิจกรรม ปีที่ ๑
- ครั้งที่ ๖ หัวข้อ "อตัมมยตาประยุกต์"
๑๓ – ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
โดย พระดุษฎี เมธังกุโร
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
สรุป อตัมมยตาประยุกต์ (77 KB)
- ครั้งที่ ๕ หัวข้อ "สุญญตาปริทรรศน์"
๑๑ – ๑๒ กันยายน ๒๕๔๗
โดย พระสุชาติ ปัญญาทีโป
ดาวน์โหลด (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)
สรุป "สุญญตาปริทรรศน์" เล่ม ๑ (83 KB) |
สรุป "สุญญตาปริทรรศน์" เล่ม ๒ (56 KB) |
ภาคผนวก (60 KB)
- ครั้งที่ ๔ หัวข้อ "โอสาเรตัพพธรรม"
๑๐ – ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗
โดย ประชา หุตานุวัตร
"โอสาเรตัพพธรรม หมายถึง การหยั่งลงไปถึงใจความอันแท้จริง เพื่อทำความเข้าใจ และปฏิบัติต่อสรณาคมน์ ทาน ศีล สมาธิ นิพพาน กรรมและหลักธรรมอื่น ๆ อย่างถูกต้อง ถ้ามองหรือหยั่งลงไปอย่างถึงที่สุด จะได้รับผลคือมีจิตหลุดพ้น จากความยึดมั่นถือมั่น"
- ครั้งที่ ๓ หัวข้อ "พุทธจริยา"
๒๙ – ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗
โดย พระไพศาล วิสาโล

ดาวน์โหลด เนื้อหาหนังสือธรรมโฆษณ์ ชุด พุทธจริยา DMK-Buddhajariya.zip (533 KB)
- ครั้งที่ ๒ หัวข้อ "บรมธรรม"
๑๓ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๗
โดย ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
ดาวน์โหลด เนื้อหาหนังสือธรรมโฆษณ์ ชุด บรมธรรม (แฟ้ม MS Word ที่บีบอัดไว้ในแฟ้ม .zip)

บรมธรรม ภาคต้น ๒๓ บท (482 KB) |
บรมธรรม ภาคปลาย ๒๒ บท (500 KB)
- ครั้งที่ ๑ หัวข้อ "อิทัปปัจจยตา"
๒๔ – ๒๕ มกราคม ๒๕๔๗
โดย น.พ.ประเวศ วะสี
แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครงการ

          อย่างไรก็ตาม แม้ร่างกายท่านจะหนีไม่พ้นกฎพระไตรลักษณ์ แต่ข้อคิด งานเขียนก็ยังคงเป็นอมตธรรม เช่น งานชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุด ที่ท่านตั้งใจแสวงหาเพชรจากพระไตรปิฎก มาสื่อกับคนร่วมสมัย เพื่อลดตัวกู–ของกู ให้เกิดสันติสุขในชีวิต และสันติภาพในสังคม

          แต่สังคมไทยมักลืมง่าย เพียง ๑๐ ปีแห่งมรณกรรมของพุทธทาสภิกขุผ่านพ้นไป ความทรงจำเกี่ยวกับท่านก็เริ่มเลือนหายไป จากมโนสำนึกของคนไทยร่วมสมัย กระทั่งวันหนึ่ง โดยแนวโน้มเช่นนี้ และหากไม่มีการศึกษาคำสอนของท่านอย่างจริงจัง ก็อาจจะไม่เหลืออะไรให้อนุชนได้รำลึกถึงเอาเลยก็ว่าได้

          ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอยู่เองที่เราจะต้องร่วมกันกระตุ้นเตือน ให้มีการรำลึกถึงคุณูปการของท่าน เป็นปฏิบัติบูชา และอาจาริยบูชา ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ก็ถือเป็นโอกาสนำธรรมะของท่าน มาศึกษาและประยุกต์ใช้ให้สมสมัย เพื่อต่อสู้กับโรคทางจิตวิญญาณ ที่นับวันจะรุมเร้าจนเราแทบไม่มีพื้นที่ให้ถอยร่นได้อีกต่อไปแล้ว

          ประกอบกับในปี ๒๕๔๙ ที่ถึงนี้ จะมีการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาลของท่าน เสมสิกขาลัย อาศรมวงศ์สนิท กลุ่มเสขิยธรรม เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย มูลนิธิโกมลคีมทอง และกลุ่มพุทธทาสศึกษา จึงจัดให้มีโครงการศึกษาสนทนาธรรมจากหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ขึ้น เพื่อร่วมระลึกถึงคุณูปการของท่าน ตลอดจนร่วมสืบสานปณิธานของท่าน ให้มีผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

วัตถุประสงค์

          ๑. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด และแบ่งปันประสบการณ์ จากการศึกษาหนังสือชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาสภิกขุ กระทั่งสามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิต และสังคมร่วมสมัย

          โดยจัดให้มีการเสวนาจำนวน ๑๘ ครั้งในสองปี มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๕ คนต่อครั้ง

          ๒. เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ นำไปสู่การพัฒนาคน ตลอดจนประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระดับปัจเจก และการเคลื่อนไหวทางสังคม

          ๓. เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเสวนาแต่ละครั้ง เผยแพร่สู่สาธารณชน ด้วยสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ สื่ออีเล็คทรอนิค เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และแถบบันทึกเสียง เป็นต้น

          ๔. เพื่อสืบทอดปณิธานทั้ง ๓ ประการของพุทธทาสภิกขุคือ

          –ให้ศาสนิกชนเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน อันเป็นเหตุแห่งสันติสุขส่วนบุคคลและสันติภาพของสังคม
          –ให้มนุษย์เห็นทุกข์เห็นโทษของความลุ่มหลงมัวเมาในวัตถุ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตการณ์ในโลก
          –ให้เกิดความร่วมมือระหว่างศาสนา เพื่อเยียวยาความทุกข์ของมนุษย์ และนำโลกสู่สันติภาพ
กลุ่มเป้าหมาย

          พระภิกษุ–สามเณร, อุบาสก–อุบาสิกา ที่สนใจทั่วไปโดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน จำนวนไม่เกิน ๒๕ คนต่อครั้ง

ระยะเวลา

          มกราคม ๒๕๔๗ ถึง ธันวาคม ๒๕๔๘

    • ปี ๒๕๔๗ จัดสองเดือนต่อครั้ง รวมเป็น ๖ ครั้งต่อปี
    • ปี ๒๕๔๘ จัดเดือนละหนึ่งครั้ง รวมเป็น ๑๒ ครั้งต่อปี

          รวมกิจกรรมทั้งหมด ๑๘ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๒ ปี

ที่ปรึกษา
    • พระภาวนาโพธิคุณ (โพธิ จนฺทสโร)
    • พระไพศาล วิสาโล
    • พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
    • สุลักษณ์ ศิวรักษ์
    • ประชา หุตานุวัตร
องค์กรร่วมจัด

 

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการระยะเริ่มต้น
ผู้สนับสนุนโครงการ

 

ตารางกิจกรรม

-> ปีที่ ๑ (มกราคม – ธันวาคม ๒๕๔๗)

ครั้งที่ วัน / เดือน / ปี หัวข้อ วิทยากร
๒๔ – ๒๕ มกราคม ๒๕๔๗ อิทัปปัจจยตา น.พ.ประเวศ วะสี, สันติสุข โสภณศิริ
๑๓ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๗ บรมธรรม ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
๒๙ – ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๗ พุทธจริยา พระไพศาล วิสาโล
๑๐ – ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ โอสาเรตัพพธรรม ประชา หุตานุวัตร
๑๑ – ๑๒ กันยายน ๒๕๔๗ สุญญตาปริทรรศน์ พระสุชาติ ปญฺญาทีโป
๑๓ – ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ อตัมมยตาประยุกต์ พระดุษฎี เมธงุกุโร

-> ปีที่ ๒ ครึ่งแรก (มกราคม – มิถุนายน ๒๕๔๘)

ครั้งที่ วัน / เดือน / ปี หัวข้อ วิทยากร
๘–๙ มกราคม ๒๕๔๘ ธรรมะเล่มน้อย พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑๒–๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ไกวัลยธรรม รศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์
๑๒–๑๓ มีนาคม ๒๕๔๘ ฆราวาสธรรม พระดุษฎี เมธงฺกุโร
๑๐ ๙–๑๐ เมษายน ๒๕๔๘ ศีลธรรมกับมนุษยโลก ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
๑๑ ๑๔–๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู พระสุชาติ ปญฺญาทีโป
๑๒ ๑๑–๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๘ ปฏิปทาปริทรรศน์ พระมหาบุญช่วย สิรินฺธโร

-> ปีที่ ๒ ครึ่งหลัง (กรกฎาคม–ธันวาคม ๒๕๔๘)

ครั้งที่ วัน / เดือน / ปี หัวข้อ วิทยากร
๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ใจความแห่งคริสธรรม เท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ บาทหลวงวิชัย โภคทวี
๖-๗ สิงหาคม ๒๕๔๘ ธรรมะกับการเมือง ประชา หุตานุวัตร
๑๐-๑๑ กันยายน ๒๕๔๘ ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์ อ.ชัชวาล ปุญปัน
๑๐ ๑-๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ ธรรมะกับสัญชาตญาณ วิศิษฐ์ วังวิญญู
๑๑ ๕-๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ สันติภาพของโลก พระไพศาล วิสาโล
๑๒ ๑๗-๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ปฏิจจสมุปบาท พระสุชาติ ปัญญาทีโป

 

กิจกรรมประจำวัน
*อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

วันเสาร์

๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. แนะนำตัวสมาธิภาวนา บรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. อาหารกลางวัน และพักผ่อนตามอัธยาศัย
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. บรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. อบสมุนไพร
๑๘.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. อาหารเย็น
๑๙.๓๐ – ๒๑.๓๐ น. สวดมนต์ สมาธิภาวนา และสนทนาธรรม
๒๑.๓๐ น. พักผ่อน

วันอาทิตย์

๐๔.๓๐ – ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอนทำกิจธุระัส่วนตัว
๐๕.๐๐ – ๐๖.๓๐ น. สวดมนต์ สมาธิภาวนา
๐๖.๓๐ – ๐๗.๓๐ น. โยคะ
๐๗.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. อาหารเช้า
๐๙.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. สมาธิภาวนา บรรยายและซักถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์
๑๑.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.อาหารกลางวัน และพักผ่อนตามอัธยาศัย
๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.บรรยายและซักถาม-แลกเปลี่ยนประสบการณ์
๑๖.๓๐ น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ
     - กรุณาสมัครหรือยืนยันการเข้าร่วมเริ่มกิจกรรมอย่างน้อย ๑ สัปดาห์
     - ควรเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว ร่ม ยากันยุง และยาประจำตัวมาด้วย
     - การแต่งกายอยู่ในชุดที่สุภาพ
     - เตรียมเสื้อยืด กางเกงวอร์มสำหรับเล่นโยคะ ผ้าขาวม้าและผ้าถุงสำหรับอบสมุนไพรมาด้วย

 

 

สอบถามรายละเอียดได้ที่
นายสมบัติ ทารัก ผู้ประสานงานโครงการ
อาศรมวงศ์สนิท ตู้ปณ.๑ อ.องครักษ์ จ.นครนายก ๒๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐๑-๗๑๕๖๘๔๓, ๐๓๗-๓๓๓๑๘๓-๔ โทรสาร ๐๓๗-๓๓๓๑๘๔
อีเมล


หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม |> ความเคลื่อนไหว | ประเด็นร้อน | ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :