การเสวนา เรื่อง
วันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ชั้น ๔ ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งในสังคมมนุษย์ ซึ่งมีทั้งปัจเจกบุคคล และกลุ่มคน หรือชุมชน อันมีพื้นฐานความต้องการ ความคิด และเหตุผลที่แตกต่างกัน จุดสำคัญอยู่ที่ว่า จะใช้ท่าทีและวิธีการจัดการกับความไม่เห็นพ้องนี้ได้อย่างไร เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ โดยมีความเหมาะควรทั้งเป้าหมาย และวิธีการ
หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก จนส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และสะสมความขัดแย้งไว้นานัปการ เป็นปัญหาอย่างรุนแรง ทั้งระดับโครงสร้าง ชุมชน และปัจเจกบุคคล หากปราศจากวิธีจัดการที่ดีพอ กระทั่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น กำลังแสดงผลออกมาเป็นความรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งในรูปแบบและวิธีการ
ปัญหาและความขัดแย้งซึ่งทุกคนกำลังเผชิญอยู่นี้ กำลังท้าทายต่อสังคมไทยว่าจะจัดการแก้ไขด้วยวิธีใด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคมให้ฟื้นคืนมา
ด้านหนึ่ง คือการหยุดยั้งและปราบปรามด้วยความรุนแรง เพื่อยุติปัญหาอย่างเฉียบขาดฉับพลัน หากก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบอย่างกว้างขวาง หรืออีกด้านหนึ่ง คือ การหันหน้าเข้าหากันด้วยน้ำใจและความเมตตา แก้ปัญหาด้วยขันติธรรมและสันติวิธี อันเป็นที่มาของความสมานฉันท์ ภายใต้ความถูกต้องและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
นี่เป็นโจทย์ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันขบคิด เพื่อแสวงหาทางออกจากสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ อันมีรัฐกับระบบเศรฐกิจการเมือง ตลอดจนภารกิจและเป้าหมายของตน อยู่ฟากหนึ่ง ขณะประชาชนผู้ด้อยโอกาสกับแนวร่วมและพันธมิตร อันเป็นผู้ถูกกระทำและต้องรับผลกระทบ กำลังถูกผลักไสให้จำต้องยืนอยู่ในฟากฝั่งตรงกันข้าม
นับวันการแสดงออกซึ่งความต้องการของประชาชน หรือการเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ ที่ถูกต้องและชอบธรรม จะเผชิญหน้ากับการตรวจสอบและตัดสินจากรัฐและสังคมทุนนิยม/บริโภคนิยม ว่าพวกเขากำลังเรียกร้องตามสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือกำลังทำตัวเป็นปัญหาและอุปสรรค ขัดขวางการพัฒนา ตลอดจนการลงทุน อันยากจะหาข้อสรุปโดยง่าย ว่าถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่, เพียงใด?
กลุ่มเสขิยธรรม และองค์กรร่วมจัด เชื่อมั่นว่า ในสถานการณ์อันมักมีการแบ่งฝักฝ่ายอยู่เสมอ ๆ เช่นนี้ การหันหน้ามาทำความเข้าใจร่วมกัน ยังมีมีความจำเป็น และน่าจะเป็นทางออกที่มีความถูกต้องและยั่งยืน กว่าการยุติปัญหาด้วยความรวดเร็วฉับพลัน อันมักแก้ไขความขัดแย้งได้เพียงระดับเปลือกผิว ดังที่กำลังมีความกระทำอยู่ในหลาย ๆ ระดับ วัตถุประสงค์
๑.เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการอันเหมาะสมในการชุมนุมเรียกร้องสิทธิของผู้ด้อยโอกาส หรือได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโดยภาครัฐและเอกชน
๒.เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม และผลกระทบจากการชุมนุมโดยสงบและสันติ ภายใต้เงื่อนไขของรัฐในปัจจุบัน
๓.เพื่อแสวงหารูปแบบ, วิธีการ และทางออกที่เหมาะสม ของการชุมนุม ภายใต้หลักศาสนธรรมและสันติวิธี
องค์กรร่วมจัด
กลุ่มเสขิยธรรม ร่วมกับ มูลนิธิโกมลคีมทอง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
และ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย (คพส.)
กำหนดการเสวนา
๑๕.๓๐ - ๑๖.๐๐ น |
- |
ลงทะเบียน |
๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. |
- |
เสวนาเรื่อง
สิทธิ น้ำใจ และเมตตาธรรม : ถามหา..จากโอกาสในการชุมนุมฯ |
|
|
ร่วมเสวนาโดย
พระไพศาล วิสาโล กลุ่มเสขิยธรรม
คุณเตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงราย
อาจารย์จรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คุณพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
คุณสมชาย หอมละออ สภาทนายความ
คุณซอและ ดูหมัน ตัวแทนชาวบ้านคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย
คุณสมเกียรติ พ้นภัย ตัวแทนชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล สมัชชาคนจน
ดำเนินรายการโดย
อาจารย์ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มเสขิยธรรม ๑๒๔ ซอยวัดทองนพคุณ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐
โทร. ๐๒-๘๖๓-๑๑๑๘ หรือ ๐๙-๖๔๒-๑๒๔๕ ... e-mail :
...จดหมายเชิญร่วมเสวนา
|