เสขิยธรรม -
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์
ทรัพย์มรดกของพระภิกษุ

นสพ.สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๑๕ ก.ค. ๒๕๔๖

          โดยทั่วไป เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย มรดกของบุคคลนั้น ย่อมตกทอดแก่ทายาทของบุคคลนั้นแต่หากบุคคลใดไปอุหสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และมรณภาพในขณะอยู่ในสมณเพศเป็นพระภิกษุ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญติไว้ในมาตรา ๑๖๒๓ ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม”

          หมายความว่าในขณะที่เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา หากได้ทรัพย์สินอะไรมา และไม่มีการจำหน่าย จ่าย โอนไปซึ่งทรัพย์สินที่ได้มา หรือมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาก็จะตกเป็นของวัดที่พระภิกษุนั้นมีภูมิลำเนา จะไม่ตกเป็นของทายาท

          ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น เมื่อมรณภาพ จะไม่ตกเป็นของวัดซึ่งเป็นภูมิลำเนา แต่ตกเป็นของาทยาทโดยธรรม และขณะที่อยู่ในสมณเพศเป็นระภิกษุก็สามารถจำหน่าย จ่าย อนประการใดตามกฎหมายก็ได้

          ในกรณีที่ พระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรม และมีสิทธิรับมรดก พระภิกษุในขณะที่อยู่ในสมณเพศ จะฟ้องเรียกร้องเอามรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ ต้องสึกจากสมณเพศก่อน แล้วจึงมีอำนาจฟ้องร้องเรียกเอาทรัพย์มรดกได้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับจากเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ถึงอย่างไรจะฟ้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้

          สำหรับพระภิกษุซึ่งเป็นทายาทในฐานะผู้รับพินัยกรรม กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องสึกก่อน ดังนั้น หากเป็นทายาทในฐานะผู้รับพินัยกรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องเรยกทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศ

          ส่วนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา การที่สามีไปบวชเป็นพระภิกษุ หาทำให้ขาดจากการสมรสไม่ แต่ทรัพย์ที่พระภิกษุได้มาในระหว่างสมณเพศ ไม่ถือเป็นสินสมรส ดังนั้นภรรยาก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างสมณเพศ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๕/๒๔๙๘)

          ที่กล่าวมาหมายถึงทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุ ถ้าเป็นของวัดแล้วเอาไปหรือเบียดบังเป็นของตนก็จะเอาผิดอาญาฐานลักทรัพย์หรือยักยอก ถ้าเป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญาเบียดบังทรัพย์สินของวัดเป็นของตน ก็จะเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ซึ่งรับโทษสูงกว่าความผิดฐานยักยอกทรัพย์.. .

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว | ประเด็นร้อน | ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
> นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :