เสขิยธรรม -
ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์

ความคิดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย

เซกชั่นศาสนา-ชุมชน
มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗

          ในทรรศนะของอิสลาม ความเจ็บป่วยเปรียบเสมือนการทดสอบของพระผู้เป็นเจ้า และในทำนองเดียวกัน หากเราสามารถอดทนอดกลั้นต่อความเจ็บป่วยเหล่านั้นได้ เราก็จะได้ผลบุญในความเจ็บป่วยนั้น รวมทั้งได้รับอภัยโทษต่อความผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่เราได้กระทำมา หรือจะเป็นการรับโทษบนโลกนี้บางส่วน ดังนั้น เมื่อมุสลิมมีโรคภัยต่างๆ จึงไม่มีความตระหนกตกใจหรือหวาดกลัว แม้ว่าจะเป็นโลกร้ายแรงก็ยังมีกำลังใจ และทำใจรับสภาวะนั้นได้ เพราะไม่ติดอยู่กับสิ่งเหล่านั้น แต่กลับขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานสิ่งนั้นมาให้ตนเอง

การปฏิบัติต่อผู้ป่วย

          เป็นมารยาทของมุสลิม เมื่อทราบว่า ๒ เรื่องที่ต้องเร่งรีบไปเยี่ยมเยียนด้วยตนเอง หรือส่งตัวแทนไปเยี่ยม คือ เจ็บป่วย และการตาย ดังนั้น ตามโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยเป็นมุสลิมจึงมักจะเห็นญาติมิตรไปเยี่ยมเยียนมากตลอดเวลา การเยี่ยมเยียนจะทำเพื่อให้กำลังใจ หรือเตือนสติผู้ป่วยให้รำลึกถึงหลักการของศาสนา และเป็นการเตือนสติตัวเองว่าจะต้องเจ็บป่วยหรือถูกทดสอบในทำนองเดียวกัน และความตายนั้นอาจจะมาเยือนได้ทุกเมื่อ มุสลิมจึงต้องมีความพร้อมที่จะกลับไปหาพระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่ไปเยี่ยมจะขอพรให้แก่ผู้ป่วย

ความคิดเห็นเกี่ยวกับความตาย

          มุสลิมมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ที่ประสงค์ให้เกิดมาในโลก และเมื่อตายแล้วก็จะกลับไปหาพระผู้สร้างของเขา เพราะฉะนั้นความตายจึงไม่ใช่ที่พึงหวาดกลัว แต่ผู้ทำความดีจะได้รับรางวัลเป็นการตอบแทนที่ดี และผู้ที่กระทำความชั่วก็จะได้รับการลงโทษเป็นการตอบแทน เมื่อทราบข่าวการตายมุสลิมจะกล่าวคำว่า "อินนาอิลัยฮิรอยิอูน" หมายความว่า "เรามาจากอัลลอฮฺ และยังพระองค์เท่านั้นที่เราจะกลับไปหา"

          ความตายเป็นบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อพระองค์ประสงค์จะให้เรามีชีวิตอยู่ ใครก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้ หากพระองค์ประสงค์ให้เราตายใครก็ไม่สามารถยับยั้งได้เช่นกัน สำหรับการฆ่าตัวตายเป็นการไม่ยอมรับความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า และไม่ทำหน้าที่รักษาร่างกายที่พระองค์ประทานมาให้ด้วย จึงมีโทษมากเท่ากับฆ่าชีวิตผู้อื่นเช่นกัน

          ความตายที่ได้รับเกียรติในทรรศนะของอิสลามคือ ความตายในการต่อสู้เพื่อศาสนา เช่น ตายในสนามรบ ตายขณะเผยแพร่ศาสนา ตายขณะทำความดี และสติรำลึกถึงอัลลอฮฺ

การปฏิบัติต่อผู้ตาย

          ในภาวะใกล้ตาย ญาติพี่น้องต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเตือนสติให้รำลึกถึงอัลลอฮฺในนาทีสุดท้ายแห่งชีวิต เมื่อถึงแก่ความตายแล้ว ต้องปฏิบัติต่อศพดังนี้

จาก สารธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉบับที่ ๑๕/๒๕๔๗

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว | ประเด็นร้อน | > ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :