เสขิยธรรม -
ประเด็นร้อน
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน | แผนผังไซต์
ชีวิตท่ามกลางระเบิด
จากบาทหลวงอเมริกัน

บันทึกจากแนวหน้า

อัมมาน จอร์แดน - ดั๊ก โฮสเตเเตอร์ สัมภาษณ์ บาทหลวงอเมริกัน คณะฟรังซิสกัน คุณพ่อ เจอรี่ ซาวาดา ผู้เป็นสักขีพยานการถล่มแบกแดดในสี่วันแรก

 
ภาพจาก www.bbc.co.uk

          คุณพ่อซาวาดา เข้าไปในอิรักเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ กับทีม Voices In the Wilderness คุณพ่อพักอยู่ที่โรงแรมอัลดาร์ โรงแรมเล็กๆ ในเขตที่อยู่อาศัยของกรุงแบกแดด เมื่อสหรัฐเปิดฉากการโจมตี ทางการอิรักแนะนำให้คุณพ่อย้ายออกจากโรงแรม เพราะโรงแรมนี้อยู่ใกล้หอสื่อสาร ซึ่งตกเป็นเป้าสำคัญของการโจมตีในสงครามอ่าวครั้งที่แล้ว แต่คุณพ่อตัดสินใจที่จะอยู่ต่อไป เพราะโรงแรมนี้อยู่ห่างไกลศูนย์กลางการค้า และใกล้กับสถานกำพร้าที่คุณพ่อเป็นอาสาสมัครอยู่

          เมื่อคุณพ่อมาถึงใหม่ ๆ คุณพ่อไปเป็นอาสาสมัครที่แผนกมะเร็งเด็กในโรงพยาบาลใกล้ ๆ แต่เมื่อสงครามเริ่มขึ้น ทางโรงพยาบาลไม่สามารถรักษาต่อไปได้ จำเป็นต้องส่งเด็ก ๆ กลับบ้าน

          คุณพ่อรู้สึกว่าภารกิจหลักของสงฆ์คณะฟรังซิสกันก็คือ การมอบความรักขององค์พระเจ้าให้กับเด็ก ๆ ของพระองค์ การให้ความรักกับเด็ก ๆ อิรักที่ถูกทอดทิ้งจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมมาก

          เด็กบางคนเกิดมาไม่มีแขนไม่มีขา เพราะแม่ได้รับฝุ่นกัมมันตรังสีจากอาวุธยูเรเนียมที่สหรัฐใช้ในสงครามครั้งที่แล้ว เด็กเหล่านี้ไร้ครอบครัวคอยโอบอุ้ม ไม่ว่าสหรัฐจะถล่มอิรักหรือไม่ ชีวิตของพวกเขาก็ยังจะคงเต็มไปด้วยความทุกข์ดังเดิม

 

โรงแรมเปลี่ยนเป็นหลุมหลบภัย

          โรงแรมอัลดาร์ไม่มีหลุมหลบภัย เมื่อเกิดระเบิดขึ้น ทุกคนจะวิ่งลงไปหลบที่ชั้นล่างสุด ทางโรงแรม เตรียมที่นอนปูไว้เต็ม หน้าต่างทุกบานมีเทปติดอยู่ ป้องกันการแตกกระจายจากแรงระเบิด แรงระเบิดมักทำให้กระจกสั่นสะเทือน แต่สี่วันแรกของสงคราม เทปยังคงยึดกระจกไว้ได้อยู่

          แขกของโรงแรมที่ยังเหลืออยู่จำนวนน้อยนิด ส่วนใหญ่ก็เป็นทีม Voices in the Wilderness ตกกลางคืนทุกคนจะมานอนรวมกันที่ชั้นล่าง พวกเขาไม่ค่อยได้นอนมากนัก เพราะเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากระเบิด อีกทั้งยังมีโทรศัพท์จากสื่อมวลชนเข้ามาตลอด บางครั้งต้องหยุดสนทนากับนักข่าว เพราะเสียงระเบิดดังมากจนไม่สามารถสื่อสารได้ นักข่าวคนหนึ่งจบการสนทนาด้วยการพูดว่า “พรุ่งนี้ผมจะโทรมาเช็คดูสิว่าคุณยังมีชีวิตอยู่รึเปล่า”

 

สัญญาณแห่งความหวัง

          คุณพ่อไม่ได้วางแผนว่าจะออกนอกประเทศ เด็ก ๆ ที่สถานเด็กกำพร้ายังรอคอยคุณพ่อทุกวัน แต่เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรม และเพื่อนคนหนึ่งต้องการความช่วยเหลือ คุณพ่อจึงตัดสินใจเดินทางออกมาที่กรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน ทั้งคู่ออกเดินทางมาเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ในขณะนั้น Voices in the Wilderness มีอาสาสมัครทั้งหมด ๒๓ คน ในแบกแดด และ Christian Peacemakers Team มีอาสาสมัครอยู่ ๖ คน

          น่าแปลกว่า แทบจะไม่มีการจราจรใด ๆ บนถนนระหว่างกรุงแบกแดดกับจอร์แดนเลย ไม่มีรถโดยสาร รถบรรทุก หรือรถยนต์ที่ขนผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศ แต่ทั้งสองได้พบกับอูฐสีขาวฝูงใหญ่อยู่สองข้างถนนในเขตทะเลทราย คุณพ่อซาวาดาไม่เคยเห็นอูฐขาวเช่นนี้มาก่อน ท่านคิดว่านี่เปรียบได้กับนกพิราบของโนอาห์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและความหวัง ท่ามกลางความพินาศ

          ที่ชายแดน คุณพ่อไม่พบผู้ลี้ภัยที่หนีออกจากอิรัก หากแต่พบชาวอิรัก ๔๐ คนที่พยายามจะกลับเข้าไปในประเทศบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อกลับไปหาครอบครัวของตน ที่กำลังเผชิญกับวิกฤต .. .

หน้าแรก | กลุ่มเสขิยธรรม | ความเคลื่อนไหว |> ประเด็นร้อน | ศาสนธรรมกับชีวิตและสังคม
นักบวชกับสังคมร่วมสมัย | จดหมายข่าวเสขิยธรรม | รวมเว็บน่าสนใจ | แผนผังไซต์
เสขิยธรรม skyd.org
สมุดเยี่ยม | แนะนำหน้านี้ให้เพื่อน

กลุ่มเสขิยธรรม ภายใต้มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ ๑๔/๖๓ หมู่บ้านสวยริมธาร ๒ ซอย ๕
ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แขวง/เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐
โทร. ๐๒-๘๐๐-๖๕๒๖ ถึง ๘, ๐๖-๗๕๗-๕๑๕๖ โทรสาร ๐๒-๘๐๐-๖๕๔๙
... e-mail :