กระดานข่าวเสขิยธรรม เสขิยธรรม : : skyd.org

 ช่วยเหลือช่วยเหลือ   ค้นหาค้นหา   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก   กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)
 ข้อมูลส่วนตัว(Profile)ข้อมูลส่วนตัว(Profile)   เข้าสู่ระบบเพื่อเช็คข้อความส่วนตัวเข้าสู่ระบบเพื่อเช็คข้อความส่วนตัว   เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)

บทความ : ชีวิตและงานของ เค็นซะบุโร โอเอะ

 
สร้างหัวข้อใหม่   ตอบ    กระดานข่าวเสขิยธรรม -> กระแสโลก
อ่านหัวข้อก่อนหน้า :: อ่านหัวข้อถัดไป  
ผู้ตั้ง ข้อความ
skyd.org
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: Tue Jun 29, 2004 16:18    เรื่อง: บทความ : ชีวิตและงานของ เค็นซะบุโร โอเอะ ตอบโดยอ้างข้อความ

/* บทความ : ชีวิตและงานของ เค็นซะบุโร โอเอะ */

นักเขียน นักคิด และ นักต่อสู้
(นักประพันธ์รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมปี 1994)

นันท์ชญา มหาขันธ์
นักศึกษาในสาขาวรรณกรรมญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยโกเบ

ข่าวการได้รับเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมปี 1994
ของเค็นซะบุโร โอเอะ ในวันที่ 13 ตุลาคม สั่นสะเทือนวงการวรรณกรรมญี่ปุ่น
อีกครั้ง หลังจากคราวที่ยะสึนะริ คะวะบะตะ ได้รับรางวัลเดียวกันนี้เมื่อ 26 ปี
ก่อน โอเอะจึงนับเป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่นคนที่สองที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับ
รางวัลนี้จาก Literature Committee of the Swedish
Academy ภายใต้เหตุผลที่ว่าเขาเป็นผู้ "สะท้อนภาพสังคมมนุษย์อันยุ่งเหยิง
ด้วยโลกแห่งจินตนาการที่ซึ่งชีวิตจริงกับเทพนิยายได้หล่อหลอมเข้าด้วยกัน"

เค็นซะบุโร โอเอะ เกิดที่จังหวัด เอะฮิเมะ ในเกาะชิโกะกุเมื่อปี 1935
สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาวรรณคดีฝรั่งเศส มหาวิทยาลัย
โตเกียว เขาเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาที่นั่น ผลงานเรื่อง
"Kimyona Shigoto" (งานประหลาด) ได้รับรางวัลจากหนังสือพิมพ์ของ
มหาวิทยาลัย ต่อมาก็มีผลงานที่น่าจับตามองเรื่อง "Shisha no Ogori"
(ตายฟุ่มเฟือย) และจากเรื่อง "Shiiku" (เลี้ยงดูปูเสื่อ) เขาได้รับรางวัลอะคุ
ตางาวา เป็นการก้าวสู่บรรณภพ ในฐานะนักเขียนหน้าใหม่ ยุคหลังสงคราม

โอเอะมีเพื่อนนักเขียนร่วมอุดมการณ์ เช่น ชินทาโร อิชิฮาร่า ผู้โด่งดัง
จากเรื่อง "Taiyo no kisetsu" (ฤดูแห่งความรุนแรง) ทาเกชิ ไคโค ผู้
ประพันธ์ "Panikku" (อุ่น) และชูซาขุ เอ็นโด ผู้ประพันธ์ "Chimmoku"
(เงียบงัน) เป็นต้น ผลิตงานเชิงสะท้อนสังคมญี่ปุ่นยุคหลังสงครามยุติใหม่ ๆ
เป็นวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต เพื่อสังคม

ผลงานของเขาในช่วงนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ นักศึกษาญี่ปุ่น
ในยุคหลังสงครามที่ถูกครอบงำ สมัยอเมริกาเข้ายึดครอง นวนิยายนำเสนอด้วย
สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่บ่งบอกถึงความอ่อนแอ ปราศจากปฏิกิริยาต่อ
ต้านของปัญญาชนญี่ปุ่นที่ควรจะมีต่อกระแสวัฒนธรรมอเมริกา และภาระอัน
หนักอึ้งที่ประชาชนต้องแบกรับภายใต้สภาวะบ้านเมืองขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็น
เรื่องราวที่ต้องการปลุกเร้าจิตใต้สำนึก ความรับผิดชอบที่ควรมีต่อประเทศชาติ
ของคนรุ่นใหม่ นับเป็นงานที่แรงด้วยสำนวนภาษาและเนื้อหา โอเอะมีงานประ
พันธ์ออกมาเรื่อย ๆ ตลอดชีวิตการเป็นนักเขียนของเขา งานเหล่านั้นดีเด่นด้าน
ปรัชญาแห่งการดำรงชีวิต สิทธิมนุษยชน การเมือง เขาบูชาลัทธิประชาธิปไตยมา
โดยตลอด เป็นผู้ที่เขียนเรื่องการเมืองโดยใช้เรื่องเพศเป็นสัญลักษณ์อธิบาย ซึ่ง
ไม่เคยมีใครทำมาก่อน นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นตัวเอกในเรื่อง มักขาดปรัชญา
ในการดำรงชีวิต มีชีวิตโอนอ่อนไปตามสิ่งที่มากระทบ ไร้สมรรถภาพ และคุณ
ภาพของการเป็นอนาคตของชาติ

ผลงานเด่น ๆ ของเขาพอสรุปได้ดังนี้
1964 "Kojintekina taiken" (ประสบการณ์ส่วนตัว)
รางวัลสำนักพิมพ์ชินโจ
1967 "Manengannen no futtobooru" (ฟุตบอลยุคมันเอ็นปีที่หนึ่ง)
รางวัลจุนอิจิโร ทะนิซะกิ
1973 "Kosui wa waga tamashii no oyobi" (จิตวิญญาณดั่งน้ำหลาก)
รางวัลวรรณศิลป์ โนะมะ
1982 "Reentsurii o kiku onnatachi" (เหล่าหญิงผู้ฟังเรื่อง "Rain tree")
รางวัลวรรณกรรมโยมิอุริ
1983 "Atarashii hitoyo mazameyo" (ตื่นเถิดคนรุ่นใหม่)
รางวัลจิโร โอะซะระงิ
1984 "Kaba ni kamareru" (ถูกฮิปโปกัด)
รางวัลวรรณกรรมยะสึนะริ คะวะบะตะ
1989 "Jinsei no shinseki" (ญาติมิตรแห่งชีวิต)
รางวัลวรรณกรรมเซ อิโต

ปัจจุบันมีผลงานที่อยู่ในระหว่างประพันธ์ คือ "Moeagaru midori
no ki" (ไม้เขียวที่ลุกไหม้) เล่มที่สามซึ่งเป็นเล่มจบจะตีพิมพ์ในฤดูใบไม้ผลิปี
หน้า (1995)

งานประพันธ์ของโอเอะ มีจุดเด่นในด้าน ความเป็นสากล "fuhensei"
(universality) และมีแนว "ร่วมสมัย" มาก เขาสามารถถ่ายทอดอารมณ์
สะเทือนใจส่วนตัว ที่มีต่อ เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น สงครามปรมาณู
โศกนาฏกรรมครั้งของชนชาติญี่ปุ่น ภาวะถูกยึดครองโดยต่างชาติ ตลอดจน
ความพิการทางสมองของลูกชาย เหล่านี้ ออกมาเป็นเรื่องราวที่ผู้อ่านทั้งหลาย
สามารถรู้สึกร่วมได้ เรื่องราวเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานที่อื่น ๆ กับชน
ชาติอื่น ไม่จำกัดว่าจะต้องเกิดที่ญี่ปุ่น

วิธีการประพันธ์ของโอเอะ ที่ใช้สัญญลักษณ์มาก ลุ่มลึกด้วยปรัชญา และ
อารมณ์ สะท้อนการเมือง การต่อสู้ภายในจิตใจของมนุษย์ เหล่านี้ ได้รับอิทธิพล
จากแนวการประพันธ์แนวตะวันตกมาก โดยเฉพาะจากนักเขียนชาวฝรั่งเศส
Jean-Paul Sartre (1905-80) ผู้ประพันธ์นวนิยายแนวสะท้อนสังคม
โอเอะกล่าวกับผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ของญี่ปุ่นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนว่า
นักเขียนชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในข่ายควรได้รับรางวัลโนเบลนี้ยังมี อาเบะโคโบ โอโอกะ
โชเฮ อิบุเสะ มาสึจิ ท่านเหล่านี้ถ้าหากยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่แปลกที่ใครคนหนึ่งจะถูก
เลือก เขาเล่าถึงวิธีการเขียนของเขาว่า เขาจะเขียนแก้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าตนเอง
จะพอใจ ราวกับว่าเขียนด้วยยางลบ และยังกล่าวต่ออีกว่า การเขียนด้านมืดของ
สังคมของมนุษย์ เรื่องเพศ ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้อ่านหดหู่ตามไปแต่ต้องการปลุก
ความกล้าหาญ กระตุ้นและเป็นกำลังใจ แก่ปวงชนทั้งหลาย ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยหลัก
และหน้าที่ของวรรณกรรมของเขา งานของโอเอะลุ่มลึกด้วยปรัชญา อาศัยเวลาใน
การทำความเข้าใจมาก มีการแปลออกเป็นหลายภาษา และได้รับรางวัลวรรณ
กรรมของยุโรปด้วย แต่ยังนับว่าเป็นที่รู้จักไม่กว้างขวางเท่าที่ควร นอกจากเขาจะ
ได้รับยกย่องว่าเป็นนักเขียนผู้ยืนหยัดในอุดมการณ์เพื่อสิทธิมนุษยชนแล้ว เขายัง
ชี้ให้เห็น ความผูกพันกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ พลังบริสุทธ์ที่มนุษย์ซึมซับ
ได้จากธรรมชาติ งานของเขาแฝงไว้ด้วยปณิธานแห่งการแก้ไข เมื่อขาดความหวัง
ชีวิตก็ไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ เขากล่าวว่า คนก็เติบโตโดยปะทะ ชนกับอุปสรรค
ต่าง ๆ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เติบโตโดยงอกงามดันทะลุหลังคาออกมา ความหวัง
จึงเปรียบเสมือนประกายแห่งชีวิต เช่นเดียวกับชื่อลูกชายคนโตของเขา "ฮิคารุ"
(flash) ผู้มีความพิการทางสมอง แม้นวนิยายจะจบลงอย่างโศกนาฏกรรม
แต่ก็ยังมีนัยของการสานต่อสู่อนาคต งานของโอเอะก้าวข้ามขีดจำกัดทางภาษา
วัฒนธรรม และอีกหลายสิ่งหลายอย่าง มีอิทธิพลสะเทือนอารมณ์ผู้อ่านอย่าง
รุนแรง

กรณีที่โอเอะปฏิเสธการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สาขา
วัฒนธรรมของญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการคัดเลือกนั้น เขาให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า
เขาเป็นนักประชาธิปไตยยุคหลังสงคราม และจะยืนหยัดในอุดมการณ์
ประชาธิปไตยตลอดไป สามารถตีความได้ว่า การตบรางวัลเมื่อทำความดีความ
ชอบนั้น มีรากฐานมาจากประเพณีนิยมโบราณ ในยุคที่อำนาจสิทธิ์ขาดอยู่ในมือ
ของนักรบ ซึ่งขัดต่อความคิดแนวประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน

ในคำปราศรัยของโอเอะที่เกียวโต มีใจความหลักว่า วรรณกรรมแห่งโลก
หรือวรรณกรรมของโลกนั้น ควรมีลักษณะที่คนทั่วโลกสามารถรู้สึกร่วมได้ เข้าใจ
ร่วมได้ เพราะวรรณกรรมมักมีข้อจำกัดทางภาษาอยู่ระดับหนึ่งแล้ว ถ้าเนื้อเรื่อง
ยังไม่มีความเป็นสากลอีก ก็ยากที่ผู้อ่านต่างวัฒนธรรมจะเข้าใจ อันที่จริงน่าจะมี
ภาษากลางที่ใช้สื่อกันทั้งโลกได้ เขารู้สึกอิจฉาลูกชายคนโตซึ่งสามารถถ่ายทอด
ความคิด อารมณ์ ทั้งหมดทั้งปวงลงในดนตรีที่เขาเรียบเรียง และใช้ดนตรีเป็นสื่อ
ถ่ายทอดสู่ผู้อื่น ภาษาดนตรีเป็นภาษาที่เกือบจะเรียกได้ว่าสากลได้เลยทีเดียว

ถ้าจะพิจารณาเหตุผลที่เค็นซะบุโรได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลโนเบล โดย
เปรียบเทียบกับกรณีของยะสึนะริ คะวะบะตะแล้ว คงสรุปได้ว่า งานของโอเอะดี
เด่นในด้าน ความเป็นสากล โลกของวรรณกรรมของเขา เป็นโลกแห่งจินตนาการ
ไร้พรมแดน ไร้ขีดจำกัด เรื่องราวต่าง ๆ แม้ถูกสมมติให้เกิดในญี่ปุ่น ตัวละคร
เป็นชาวญี่ปุ่น แต่เหตุการณ์นั้น ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกมุมโลก จึงไม่แปลกเลยที่
งานของเขาได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ส่วนงานของคะวะบะตะเล่าถึง
ความหมดจดงดงามที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ เขาแสดงให้โลกรู้จักจิต
วิญญาณของญี่ปุ่น โดยผ่านร้อยแก้วที่มีลีลาและท่วงทำนองงดงามราวกับร้อย
กรอง

โอเอะกล่าวกับผู้สื่อข่าวต่างชาติว่า ศตวรรษที่ 20 เป็นยุคที่ญี่ปุ่น
เปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่อย่างรวดเร็ว ในศตวรรษนี้ญี่ปุ่นเป็นทั้งผู้ทำลาย และ
ผู้ถูกทำลายล้าง เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวญี่ปุ่นควรทำความเข้าใจเรื่องราว
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง การตัดสินว่าญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าทาง
เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เป็นการมองอย่างหยาบ ๆ ที่จริงแล้วญี่ปุ่นสูญเสีย
ความเป็นตัวของตัวเองไปมากและอยู่ในช่วงสับสน มีสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน
มากมาย ปะปนกันอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

หนังสือพิมพ์ของรัสเซียลงบทความของโอเอะ ในเรื่องที่งานของเขาเน้น
ความสำคัญของกลุ่มหรือสื่อมวลชนมากกว่าส่วนบุคคล เป็นงานที่พยายามจะ
อธิบายมนุษย์จากมุมมองต่าง ๆ ซึ่งน่าสนใจ หนังสือพิมพ์ของเยอรมัน กล่าวชม
ว่างานของเขาสามารถอธิบายสิ่งใหญ่ ๆ เช่น สภาพการเมืองการปกครอง ได้
ด้วยโศกนาฏกรรมส่วนบุคคล เป็นการอุปมาอุปไมยที่แยบยลยิ่ง หนังสือพิมพ์
ฝรั่งเศส ลงบทความชมวิธีการประพันธ์ที่มีความเป็นสากลของเขา และหนังสือ
พิมพ์ส่วนใหญ่จะหยิบยกปัญหาส่วนตัวของเขาขึ้นมาสรรเสริญ ในฐานะนักต่อสู้
เพื่อสิทธิมนุษยชน ด้วยการที่เขาให้ลูกชายคนโตมีโอกาสเกิดมา ทั้ง ๆ ที่แพทย์
บอกว่าไม่สมควร เนื่องจากทารกมีความพิการทางสมอง นอกจากนั้นยังชื่นชม
ความมีศรัทธาในอุดมการณ์ประชาธิปไตย และความรักสันติภาพของเขา ทั้ง ๆ
ที่เขาเติบโตขึ้นมาในตระกูลที่สืบเชื้อสายนักรบโบราณ

แต่ก็มิใช่ว่าจะไม่มีข้อเขียนในเชิงคัดค้าน หนังสือพิมพ์ในอิตาลีบาง
ฉบับลงบทความที่ว่า โศกนาฏกรรมส่วนตัวของผู้เขียนในเรื่องลูกชาย ไม่ควรนำ
มาพิจารณาร่วมกับการตัดสินวรรณกรรมของเขา เป็นเพราะว่าสังคมของญี่ปุ่นมี
ค่านิยมที่ผิด ๆ ที่ไม่ยอมรับคนพิการ และบังเอิญที่โอเอะ กล้าที่จะเปิดเผยเรื่อง
ราวของลูกชายโดยไม่กระดากอายเท่านั้นเอง ยังมีบทวิจารณ์ของ
E.G.Seidensticker นักวิจารณ์วรรณศิลป์ญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงอีก เขากล่าวสั้น
ๆ ว่า คณะกรรมการพิจารณามีทางเลือกที่ดีกว่านี้แน่นอน และ Andrew
Howard แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า เป็นรางวัลที่สมควรให้กับยุค
สมัยทั้งยุคสมัยร่วมชะตากรรมสงความเดียวกันนี้

--------------------------------------------------------------------------
ขึ้นไปข้างบน
เรียงลำดับข้อความตอบจากก่อนหน้า:   
สร้างหัวข้อใหม่   ตอบ    กระดานข่าวเสขิยธรรม -> กระแสโลก ปรับเวลา GMT - 5 ชั่วโมง
หน้า 1 จาก 1

 
ไปที่:  
คุณสามารถสร้างหัวข้อใหม่ได้
คุณสามารถพิมพ์ตอบได้
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์หรือภาพประกอบในกระดานนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์จากกระดานนี้



เสขิยธรรม

Powered by phpBB 2.0.10 © 2001, 2002 phpBB Group